Tuesday, December 22, 2009

ภาพบรรยากาศ การประชุมผู้ประสานงานโปรแกรม ทั่วประเทศ

ครั้งที่สองประจำปี 2009 ด้วยวาระพิเศษที่ต้องจัดให้มีการประุชุมผู้ประสานงานอย่างเร่งด่วน ซึ่งก็เสร็จสิ้นไปสด ๆ ร้อน ๆ ซึ่งเนื้อหาสำคัญต่าง ๆ ผู้ที่รับผิดชอบจะได้สรุปและจัดส่งให้ทราบต่อไป


พร้อมกันนี้จะขอประมวลภาพบรรยากาศการประชุมให้พวกเราได้เห็นและเตรียมตัวที่จะรับฟังข้อมูลต่าง ๆ จากท่าน IP Manager ที่จะได้แบ่งปันให้ฟังในแต่ละโปรแกรมของตัวเองต่อไป

เริ่มจากภาคเหนือ ซึ่งมีสองโซน RM บรรสิทธิ์ และ RM จำลอง


ต่อด้วยทีมงานภาคกลางตะวันออก และ ตะวันตก พี่สง่า และ พี่นิัรันดร์

ทีมงานภาคใต้ พี่อรรณพ และ เอกชัย รวมทีมงานกรุงเทพฯ

ตามมาด้วย 3 พี่น้อง โรจน์ หนุ่ย และ อู๊ด จากภาคอีสานโซน 1, 2 และ 3




เนื้อหาสาระสำคัญหลัก ๆ ของการประชุมกลุ่มย่อยตามภาพ ก็จะเป็นการสรุปบทเรียนสำคัญว่าด้วยการดำเนินงานตามภาคส่วนหลักตามแผนยุทธศาสตร์๋ขององค์กรซึ่งได้แก่
  • การจัดทำ RC Inclusion Mapping
  • การดำเนินการปรับเปลี่ยนการดำเนินการด้านการศึกษา
  • การดำเนินกิจกรรมว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
ซึ่งผลของการประชุมจะได้สรุปและจัดส่งให้กับทุก ๆ คนต่อไป

Thursday, December 17, 2009

Celebration Legacy Service and Leadership






เก็บภาพงานที่โรงแรม Imperial Queen's Park มาฝากครับ ดูเอาเองเด้อ

Wednesday, December 16, 2009

หล่มเก่าวันนี้.........(เก็บภาพมาเล่า)

ADP หล่มเก่า จ. เพชรบูรณ์ ชื่อนี้ใคร ๆ ก็งง อยู่ภาคอีสานได้ไง แต่ก็เป็นไปแล้ว พื้นที่หล่มเก่า
ได้ไปเยียมบ้านสักง่า ซึ่งระยะทางแค่ 50 กม. กว่า เส้นทางลาดยางสะดวกสะบาย ไม่น่าจะเดินทางนาน แต่พอถึงทางแยกเลี้ยวเข้าหมู่บ้านมีป้ายบอกทางว่าบ้านสักง่าอีก 9 กม. คงอีกแป๊บเดียว แต่กลับกลายเป็นว่าใช้เวลาเกือบ 40 นาทีในการเดินทางโดยรถยนต์ เส้นทางหฤโหดมาก เป็นเนินลาดชัน และ ฝุ่นตลบอบอวน หากเป็นหน้าฝนคงไม่สามารถไปได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพด เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ พันธุ์ข้าวโพดก็มาจากบริิษัทเอกชน หลายคนคงจะรู้จัก พันธุ์ 888 ให้เดาว่าของใคร น่าจะทราบกันดี พอเสร็จจากข้าวโพดก็เดินทางไปรับจ้าง หรือ ทำอาชีพเสริมคือขายหวย (lottery)

สำหรับ ADP หล่มเก่า phase นี้ก็เริ่มเข้า phase II สิ่งที่ ADP จะมุ่งเน้นต่อไปคือการมุ่งเสริมให้ชาวบ้าน
  • สามารถมีผลผลิตเพิ่มโดยการเตรียมดิน ปรับปรุงดิน และ การใช้ปุ๋ยเพื่อลดสารเคมี และ รายจ่าย
  • การส่งเสริมให้มีอาชีพเสริม และ รวมกลุ่ม รวมถึง
  • การส่งเสริมให้สหกรณ์มาช่วยเป็นแรงผลักดันในการส่งเสริมอาชีพ และ นำไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งก็นับว่าสหกรณ์ที่นี้ก็พึ่งที่จะเริ่มต้น โดย phase นี้ก็จะเป็นบทพิสูจน์ความฝันดังกล่าวนี้ว่าจะทำได้หรือไม่
เก็บรูปลักษณะพื้นที่มาให้ดู พวกเราลองนึกตามเวลาที่ไปตามเด็กให้เขียนจดหมาย หรือ ตอบจดหมาย รวมถึงเยี่ยมเด็ก หากเป็นพื้นที่แบบนี้เราจะทำงานอย่างไร

ทางขึ้นไปหมู่บ้านสักง่า

ระหว่างทาง ชาวบ้านเดินทางกลับจากไร่ข้าวโพด
สังเกตุนะครับ ไร่ข้าวโพด คือเขาทั่งลูก

เขาหลาย ๆ ลูก
ส่วนใหญ่ ก็เป็นไร่ข้าวโพดทั้งหมดเลย

อันนี้อีกมุมหนึ่ง

นี่ละครับ ต้นกำเนิดแม่น้ำป่าสัก
เป็นง่าสองง่ามาบรรจบกัน
เรียกว่า่ "สักง่า" ครับ


และ นี่เป็นภาพของสายน้ำป่าสักที่เริ่มไหลออกไปจากภาพเมื่อสักครู่ครับ

และ ปีนี้ก็เป็นปีแรกที่หล่มเก่าเริ่มลุยงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเน้นใน 2 เรื่องคือ
  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก โดยมุ่งส่งเสริมและ สนับุสนนคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน คือมุ่งเน้นที่ครู ผู้บริหาร และ กรรมการจัดการศึักษาของโรงเรียน โดยจะทำในลักษณะของการนำร่องในพื้นที่ สอนเสริมเด็กในแต่ละช่วงชั้นในภาษาไทย และ คณิตศาสตร์
  • ทักษะชีวิตของเด็ก เน้นให้เด็กเห็นคุณค่าแห่งตน รัก และ ภูมิใจในตนเอง โดยจัดกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มเป้าหมายเด็กวัยรุ่น เด็กกลาง และ เด็กเล็ก ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะจัดกิจกรรมแตกต่างกันไป ซึ่งต้องครอบคลุม RC ทั้งหมดในแต่ละปี
โรงเรียนในภาพที่ถ่ายมานี้ ชื่อโรงเรียนบ้านผักกูด ซึ่งก็ถือเป็น 1 ในโรงเรียนเป้าหมายที่ ADP จะทำงานด้วย
ซึ่งโรงเรียนนี้เราสนับสนุนห้องสมุด 1 ห้อง จากงบประมาณพิเศษของ Marketing ในภาพจะเห็นที่ตั้งของห้องสมุดในโรงเรียน ซึ่งก็น้อง ๆ ภูเขาดี ๆ นี่เองครับ ครู นักเรียนทีนี่ท่าทางจะหัวเข่า และ กำลังดีมาก ๆ เลยครบั ขึ้นลงเนินทุกวัน......

Wednesday, December 9, 2009

แบบทดสอบความเครียดด้วยตนเองจาก

ลองมาประเมินความเครียดกันดูนะ คลิ๊ก แบบประเมินความเครียด

ลองทำดูนะครับ ไม่นาน และ click ปุ่มเสร็จ ก็จะทราบผลระดับความเครียดของคุณเองได้ครับ ที่มาจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขครับ

Friday, November 13, 2009

"พลังความเข้มแข็งของชุมชน" : Community Empowerment

Community Empowerment "พลังความเข้มแข็งของชุมชน"

สรุปบทเรียนสำคัญจากการประชุมทีมงาน ADP ที่สนับสนุนโดย WVUS ระหว่าง 12-13 พฤศจิกายน 2009 ที่โรงแรม Town in Town กรุงเทพฯ มาฝากครับ............

พลังความเข้มแข็งของชุมชน หรือ ภาษาอังกฤษที่หลายคนอาจเคยได้ยิน คือคำว่า Community Empowerment ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญขององค์กรร่วมพันธกิจในการทำงานกับชุมชน ซึ่งหากมองกันแบบผิวเผินงานที่เราทำอยุ่ ก็อยุ่ในแนวของ empowerment แต่หากจะให้มีการจัดระดับของความเข้มแข็งของชุมชนแล้วนั้น สามารถแบ่งโดยใช้เรื่องของการมีส่วนร่วม "Community participation" มาช่วยจัดได้ดังนี้
  1. Information : มีส่วนร่วมเพียงให้ข้อมูลเท่านั้น เป็นการให้ข้อมุลทางเดียว "one way"
  2. Consultation : ร่วมปรึกษาหารือ ร่วมวางแผน เป็นการให้ข้อมูล-แลกเปลี่ยนข้อมูุลสองด้าน
  3. Collaboration : ประสานความร่วมมือ คือ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และ ตัดสินใจ - shared control
  4. Empowerment : เป็นการถ่ายโอนการคิด การตัดสินใจต่าง ๆ ให้กับชุมชน
ซึ่งหากเราย้ัอนกลับมาดูในงานของเราที่เป็นอยู่ อาจกล่าวได้ว่าเราเองยังไม่ถึงระดับของ Empowerment อย่างจริงจังตามที่เราได้คิด และ วางแผนไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เราจะอยู่ในระดับที่ 2 หรือ 3 เท่านั้น ซึ่งเป็นที่น่าคิดว่า จากระดับ 2-3 ที่เป็นอยู่นั้น จะนำไปสู่ระัดับ 4 ได้อย่างไร

ฝากไว้เป็นประเด็นในการพิจารณาวางแผนการทำงาน กำหนดบทบาทของทีมงานในการทำงานกับชุมชนหรือ partner โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ADP ที่อยู่ในช่วย transition จะมีกลไก หรือ วิธีการทำงานอย่างไรที่มุ่งให้เกิด empowerment กับ partner ต่าง ๆ ที่เราทำงานร่วมด้วย

เราจะคุยกันต่อเรื่องนี้ในการพบปะกันครั้งต่อ ๆ ไปครับ

ส่งรูปบรรยากาศ และ mind map สรุปเนื้อหาสำคัญมาให้ครับ




Tuesday, November 10, 2009

เก็บรูปมุมกว้างศูนย์เรียนรู้ (แวงใหญ่) มาฝาก

ศูนย์เรียนรู้ ADP แวงใหญ่
ได้มีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์เรียนรู้บ้านใหม่นาครอง (โนนขี้เหล็ก) ที่ทีมงาน ADP แวงใหญ่ตัดสินใจจะเข้าไปฟื้นฟู และ ย้ายสำนักงานโครงการเข้าไปอยู่ โดยตั้งใจจะทำเป็นศูนย์สาธิต และ ฝึกอาชีพของชาวบ้านในพื้นที่นั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสหกรณ์ ซึั่งผลประกอบการดีมากมีกำไรต่อเนื่องตลอด 4 ปีที่ผ่านมา และ ปีนี้เราสนัับสนุนเพียงแค่ 70% จากมติของกรรมการสหกรณ์ ซี่งถือว่ามีแนวโน้มที่ดีมาก ๆ ครับ

พื้นที่สวยครับ อยู่กลางทุ่ง ล้อมลอบไปด้วยแปลงนาของชาวบ้าน ซึ่งAdd Imageเป็นครอบครัวเป้าหมายบางส่วน
ดูศักยภาพของพื้นที่แล้วมีความเป็นไปได้
ว่าง ๆ แวะไปเยี่ยมนะครับ ปี 2010 จะมีการปรับปรุง และ คงจะเปิดบริการให้หลาย ๆ ที่ได้เข้าใช้บริการครับ

ท่านที่ใช้ google map หรือ google earth ท่านลองเข้าไปดูครับ


Wednesday, October 28, 2009

COP : ชุมชนแห่งการเรียนรู้-เตรียมแบ่งปันในการประชุมทีมภาคอีสานครั้งที่ 2/2010 (ธันวาคม 09)

พี่น้องครับ

เดือนธันวาคม 09 นี้เราจะมีการประชุมทีมงานของภาคอีสานครั้งที่ 2/2009 ซึ่งจะเป็นการประชุมประจำไตรมาสที่เราตั้งใจจะมี 3-4 ครั่งต่อปี ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญอันหนึ่งคือการแลกเปลี่ยน-เรียนรู้ ร่วมกัน จากการประชุมครั้งที่ผ่านมา เราได้สรุปประเด็นเรียนรู้ไว้ 3 เรื่องในแต่ละกลุ่ม COP ซึ่งเราจะเฝ้ารอสิ่งที่ทั้ง 3 ทีมโดยคุณเือื้อ (คุณเกียรติศักดิ์/คุณ jeffy และ คุณปราโมทย์) จะช่วยนำมาแลกเปลี่ยนกับเราในการประชุมที่จะถึงนี้
ดูภาพบรรยากาศการประชุมที่ผ่านมา







สำหรับเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ในการประชุมผมจะกำหนดให้มีวันแห่งการเรียนรู้ คือเป็นวันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยจะเปิดโอกาสให้แต่ละทีมงานได้แบ่งปันบทเรียนของตนเองจากการทำงานที่ผ่านมา โดยจะกำหนดหัวข้อในการแบ่งปันครั้งนี้คือ

กิจกรรมที่เป็น best practice ของแต่ละ ADP ซึ่งขอให้แต่ละ ADP ได้เตรียมสรุปบทเรียนจากการดำเนินงาน โดยเลือกกิจกรรมย่อย 1 กิจกรรมในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา มาแบ่งปันโดยขอให้สรุปเป็นเอกสารสรุปบทเรียนประมาณไม่เกิน 3 หน้ากระดาษแบ่งปันในหัวข้อหลักคือ
  • กระบวนการดำเนินกิจกรรมที่ทีมงานได้เตรียมและดำเนินการ (กรอบแนวคิด/วัตถุประสงค์/วิธีการ)
  • ผลที่เกิดขึ้น (ผลจากการวัดผล ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว)
  • บทเรียน และ ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการ-นำไปประยุกต์ใช้
ในรายละเอียดผมจะแจ้งรายละเอียดให้ท่านผ่านทาง RM ของท่านอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งข้อความนี้ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ และ แจ้งการเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการเตรียมการเข้าร่วมประชุมที่จะถึงนี้ครับ

ขอบคุณครับ แล้วพบกันในฉบับต่อไปครับ




Wednesday, September 30, 2009

Fw: ปฏิทินระบาดของศัตรูข้าว


ช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชาวบ้าน

นอกเหนือจากภายุ-น้ำท่วมที่จะทำลายผลผลิตของชาวนาแล้ว



ยังมีการระบาดของแมลงและศัตรูพืชต่างๆ อีก ผมเจอ วันก่อนไปเยี่ยมโครงการขามสะแกแสง ชาวบ้าน

ยกต้นข้าวมาให้เจ้าหน้าที่โครงการ

ช่วยด้วย ๆ ข้าวถูกหนอนกิน (หนอนกอ) ไม่รู้จะทำอย่างไร เป็นข้าวที่เราส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้

ปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ กลัวว่าจะเสียหายทั้งหมด

ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ให้ไปติดต่อกับทางเกษตรตำบล ก็บอกว่ายังไม่ียาฆ่าตอนนี้ จะทำอย่าง

ไรดี..........



ก็เลย search internet ดูว่าจะทำอย่างไรได้บ้างก็เลยไปเจอ website นี้น่าสนใจ เลยเอามา

ฝากพี่น้องครับให้แบ่งกับทีมงานเราต่อไปครับ



ขอบคุณครับ

สราวุธ



http://www.doae.go.th/pest/rice/riceson.htm



__________________________________________

Tuesday, September 15, 2009

Self esteem

ทบทวนเอกสาร "การสร้าง Self-esteem ให้กับเด็กและเยาวชน"

 
 


คำจำกัดความ และลักษณะของ Self-esteem

·       Self-Esteem คือ ความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งหมายถึง ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองในทางที่ดี มีความเคารพและยอมรับตนเองว่ามีความสำคัญ มีความสามารถและใช้ความสามารถที่มีอยู่กระทำสิ่งต่างๆให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ยอมรับนับถือตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง เคารพในตนและผู้อื่น และมีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมาย 

ความภาคภูมิใจในตนเองนั้น พิจารณาได้จากการเปรียบเทียบตนที่แท้จริง (Self-concept) กับตนในอุดมคติ (Ideal self) โดยคนที่มองเห็นตนเองในอุดมคติขัดแย้งกับตนเองตามความเป็นจริง จะมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ (Low self-esteem) และคนที่มีความคิดเห็นตรงกันกับตนในอุดมคติ จะเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองสูง

          Self-concept           Ideal-self                       Self-concept       Ideal-self

                                                                                           

 

                                                      

 

                                                                                                                                  

                   Low self-esteem                                           High self-esteem

                บุคคลจะรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองได้ก็ต่อเมื่อยอมรับตนเองได้ โดยที่การรับรู้ของบุคคลตามที่เขา  รับรู้สอดคล้องกับตนในอุดมคติหรือตามที่ตนเองคาดหวัง ทั้งในด้านความรู้สึก เจตคติ ความเชื่อใน         เอกลักษณ์และคุณค่า ความศรัทธาในตนเอง รวมทั้งการรับรู้สัมพันธภาพของตนเองกับบุคคลอื่น ถ้าบุคคลใดคิดว่าตนเองตามความเป็นจริงเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับตนเองในอุดมคติมากเพียงใด บุคคลก็จะมีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น หรือกล่าวได้ว่าความภาคภูมิใจในตนเองเป็นผลต่างของความคลาดเคลื่อนของตัวตนที่แท้จริงและตัวตนที่อยากจะเป็น นอกจากนี้เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของบุคคลก็มีผลต่อความภาคภูมิใจในตนเองของบุคคลด้วย กล่าวคือ ถ้าสถานการณ์เป็นไปในด้านดีมีความสำเร็จในสิ่งที่กระทำความภาคภูมิใจในตนเองก็เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามการประสบความล้มเหลวก็จะ    ทำให้บุคคลรู้สึกว่าตนไม่มีความสามารถ ไร้ประโยชน์ ความภาคภูมิใจในตนเองย่อมลดลง

บุคคลที่มีความภาคภูมิใจในตนเองสูง (High self-esteem) มีการรับรู้ "ตน"ตามความเป็นจริง มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในความคิดของตนเอง สามารถให้เหตุผลในสิ่งที่ตนเองกระทำได้กระจ่างชัด มั่นใจในการกระทำ หรือการตัดสินของตน กล้าคิด กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มั่นคงทางจิตใจ มองโลกในแง่ดี           มีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลอื่น ดังนั้น บุคคลที่มีความภาคภูมิใจในตนเองสูงจึงใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข      มีความวิตกกังวลน้อย มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต จะมีระบบภูมิคุ้มกันทาง           จิตวิญญาณให้บุคคลเผชิญกับปัญหา และมีพลังในการขจัดสิ่งเลวร้ายในชีวิตออกไป

ปัจจัยที่จะช่วยให้บุคคลมีความภาคภูมิใจในตนเองนั้น ได้แก่โอกาสที่บุคคลนั้นจะได้ใช้พลังความสามารถที่มีอยู่ในตนเองในการคุ้มครองดูแลตนเองหรือมีโอกาสได้เกื้อกูลผู้อื่น ได้รับการให้ความสำคัญ ได้รับความเชื่อถือศรัทธาและประสบความสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง (อาจารย์สุพัตรา ทาวงศ์ : ศูนย์ให้คำปรึกษากลุ่มงานพัฒนานักศึกษา)

·       จากบทความ The Six Pillars of Self-Esteem ซึ่งแต่งโดย Nathaniel Brandon ว่าด้วยเรื่องการสร้างความนับถือตนเองหรือ Self-esteem ซึ่งจะแตกต่างกับคำว่า ความเชื่อมั่นในตนเอง หรือ Self confidence ตรงที่ว่า ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นเรื่องของความกล้าที่จะตัดสินใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆ    ในชีวิต แต่ Self-esteem หรือความนับถือในตนเองนั้นคือความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถที่จะเผชิญโลกได้ในทุกสถานการณ์ และรู้ซึ้งดีว่าตนเองนั้นมีคุณค่าและเป็นคนดีมีความมั่นคงภายในจิตใจโดยชาว      ตะวันตกมีสมมติฐานที่ว่า หากคนเราขาดความนับถือตนเอง หรือ Self-esteem แล้วนั้น จะทำให้                                          1)ยากที่จะมีความสุขเพราะจะเป็นคนจับจดทำอะไรก็ไม่สำเร็จ                                                                          2)ยากที่จะเป็นคนดีเพราะเมื่อไม่สามารถเคารพตนเองได้ก็ยากที่จะเคารพผู้อื่นเช่นกัน

3)ยากที่จะประสบความสำเร็จเพราะเมื่อไม่มีจุดยืนในตนเอง จึงไม่สามารถแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใด ๆ ออกมาได้โดยไม่หวั่นไหวต่อเสียงวิพากวิจารณ์จากคนรอบข้าง

·       Self-esteem หมายถึง การรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง ซึ่งคนที่มี Self-esteem จะต้องมีความสมดุลของความต้องการผลสำเร็จ ความมีเกียรติ และความซื่อสัตย์ ซึ่งหมายถึงจิตใต้สำนึกและพฤติกรรมนั่นเอง จิตใต้สำนึกของคนที่มี Self-esteem จะต้องรู้บาปบุญคุณโทษ รู้สิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี ส่วนพฤติกรรมของ Self-esteem มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา เชื่อมั่นในความคิดและความสามารถของตนเอง สามารถเลือก   วิธีการตัดสินใจที่ถูกต้อง หากสูญเสียความสมดุลก็จะทำให้เกิดปัญหา เช่น หากจิตใต้สำนึกไม่แข็งแรงหรือ         ไม่สมบูรณ์พอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมเชื่อมั่นตนเองมากเกินไป หยิ่งยโส   ดูถูกคนอื่น แต่หากมีจิตสำนึก   ที่ดีแต่ไม่มีความมุ่งมั่นที่จะประสบผลสำเร็จ ชีวิตก็อาจจะไม่ถึงเป้าหมาย ดังนั้นบุคคลที่ชอบพูดถึงแต่ตัวเอง โอ้อวด ดูถูกคนอื่น ชอบเอาเปรียบคนอื่น ไม่ถือว่ามี Self-esteem (สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต)

·       Self-esteem หมายถึง การตระหนักรู้อย่างแน่ชัดว่าตนสามารถทำได้สำเร็จ และเป็นที่ยอมรับ       เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่การไปเที่ยวอวดตัวว่าฉันเก่งในเรื่องไหนบ้าง หรือคิดว่าฉันเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ เพราะในความเป็นจริงไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แต่เป็นความรู้สึกภายในจริงๆว่า "ฉันเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าในแบบของฉัน ซึ่งสมควรจะเป็นที่รัก และยอมรับของคนอื่น" ซึ่งคนที่มีความสุขจริงๆจะต้องได้รับการพัฒนา Self-esteem มาตั้งแต่เด็กๆ โดยการสะสมความรู้สึกว่า "ฉันเป็นที่รักของผู้อื่น"          ซึ่งนั่นหมายถึง "ฉันมีคุณค่าเพียงพอที่จะถูกรัก" และสะสมความสำเร็จเล็กๆน้อยๆมาโดยสม่ำเสมอ           ซึ่งนั่นหมายถึงความรู้สึกมั่นใจว่า "ฉันสามารถประสบความสำเร็จได้" เด็กจึงจะเชื่อว่าเขาทำได้ และสิ่งที่  เขาทำเป็นสิ่งที่คนอื่นยอมรับ โดยเฉพาะคนในครอบครัวซึ่งเป็นคนที่เขารักที่สุด สำคัญที่สุด และรับรู้ว่า   ตนเองเป็นที่รักและได้รับการยอมรับ ดังนั้นSelf-esteemจึงเป็นฐานแห่งความสุขในชีวิตของมนุษย์                        (เกียรติยง ประวีณวรกุล นักจิตวิทยาคลินิก)

·       Maslow ได้กล่าวเอาไว้ว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความเข้มแข็ง มีสมรรถภาพในการกะทำสิ่งต่างๆ มีความเชี่ยวชาญและ         มีความสามารถ ซึ่งประกอบไปด้วย สองส่วนคือ

1)            ความรู้สึกนับถือตนเอง (Self-respect) เป็นทัศนของบุคคลที่มีต่อตนเอง มีความเคารพ ยอมรับในตนเองว่ามีความสำคัญ มีความสามารถที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ได้แก่การมองเห็นคุณค่าในตนเอง การเป็นคนเข้มแข็งมั่นคง มีความสามารถ มีความชื่นชมตนเอง มีความเชื่อมั่น พึ่งตนเองได้และมีความเป็นอิสระ

2)            ความรู้สึกว่าคุณค่าที่บุคคลอื่นมีต่อตน (Esteem from others) ซึ่งเห็นได้จากการมีเกียรติ มีชื่อเสียง มีตำแหน่ง มีอำนาจ มีความรุ่งเรือง ได้รับการยอมรับ ความเอาใจใส่ ให้มีความสำคัญ มีศักดิ์ศรี และเป็นที่ยกย่องของสังคม

·             Coopersmith นักวิจัยเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าในตนเอง ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเป็นการตัดสินใจความมีคุณค่าของตนเอง ซึ่งแสดงถึงทัศนคติที่บุคคลมีต่อตนเอง เป็นการยอมรับหรือไม่ยอมรับของตนเอง และแสดงถึงขอบเขตของความเชื่อที่บุคคลมีต่อความสามารถ ความสำคัญ ความสำเร็จ และความมีค่าของตน

·             ชัยวัฒน์ วงษ์อาษา ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองคือการที่บุคคล มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งพิจารณาจากการประเมินคุณค่าตนเองในด้านความสามารถความชำนาญ ความสำคัญ ความสำเร็จ และความมีคุณค่าของตนเอง รวมทั้งการสามารถยอมรับการเห็นคุณค่าในตนเองที่ผู้อื่น   มีต่อตน  มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความนับถือตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับอัตมโนทัศน์ของแต่ละบุคคล

·       Self-esteem หมายถึง ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็น"ความเชื่อหรือความรู้สึกที่มีต่อตัวเอง             ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เจตคติ และแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต" ซึ่งการจะก่อให้เกิดความภูมิใจในตนเองนั้น จะต้องสะสมความรู้สึกทีละเล็กทีละน้อยตั้งแต่เด็ก เพราะเราไม่สามารถสร้างความรู้สึกนั้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งการสะสมความรู้สึกต่อตัวเองนั้นจะเริ่มตั้งแต่อายุขอบปีแรก เด็กจะเริ่มสะสมความรู้สึกว่า "ตัวเองทำได้" โดยที่เขาไม่รู้ตัว จากนั้นเขาจะเริ่มพัฒนาจริงจังเมื่ออายุ 3-4 ปี เขาจะเริ่มรับรู้ความรู้สึกชนิดต่างๆ  สำรวจความคิดนั้น และสะสมความคิดจนได้ข้อสรุปตกผลึกออกมาเป็นความรู้สึกโดยรวมต่อตนเอง นอกจากนี้ความภูมิใจในตนเองจะต้องเกิดควบคู่ไปกับความรัก เนื่องจากถ้าเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถทำสิ่งต่างๆได้ประสบความสำเร็จแต่ขาดความรัก ในที่สุดเขาก็จะหมดความภาคภูมิใจในตัวเอง ส่วนเด็กที่ได้รับความรักแต่ไม่ภูมิใจในตัวเอง ทำอะไรไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ก็จะไม่รักตัวเอง ดังนั้นความภาคภูมิใจและความรักจึงต้องมีอยู่ด้วยกันอย่างสมดุล (แหล่งข้อมูลจากโรงเรียนวัฒนาสาธิต)

·       Self-esteem คือ การนับถือตัวเอง ซึ่งหมายถึง ความรู้สึก ความเชื่อที่บุคคลมีต่อตนเองว่ามีความสามารถมีคุณค่า ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ การนับถือตนเอง ต่ำไปจนถึง การนับถือตนเองสูง การที่บุคคลยอมรับตนเอง นับเป็นทักษะสำคัญในการที่จะเรียนรู้พัฒนาตนเอง และการดำเนินชีวิต เพราะความสามารถในการรักษาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ได้ดี มีผลมาจาก การที่บุคคลยอมรับ หรือปฏิเสธตนเอง และจะเป็นสิ่งที่ใช้ทำนายสัมพันธภาพ ที่บุคคลอื่นมีต่อเราได้เช่นกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ จะเป็นผลมาจากการพัฒนาการ   นับถือตนเองของบุคคลนั่นเอง จากงานวิจัย (Harris : 1990) พบว่าคนที่มีระดับการนับถือตนเองต่ำ        (Low self-esteem) จะมีปัญหาด้านอารมณ์มากกว่า คนที่มีการนับถือตนเองสูง (High self-esteem) และการนับถือตนเอง จะเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อบุคคลเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่น และบางครั้งบุคคลที่นับถือตนเองต่ำ จะแสดงจุดเด่นเฉพาะบางอย่าง เช่น (การแต่งกาย, การแสดงความคิดเห็น, การเล่นกีฬา) เพื่อเป็นการ   ชดเชย แต่บุคคลเหล่านี้ก็ไม่สามารถลดความรู้สึกพร่องใน การนับถือตนเอง หรือความภาคภูมิใจในตนเอง แม้จะพยายามสร้างจุดเด่นให้ตนเองแล้วก็ตาม แต่ในทางกลับกัน บุคคลที่มีการนับถือตนเองสูง (High self-esteem) จะสามารถมีความสุขและพึงพอใจในชีวิต เพราะเขาจะมีแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ ที่มีผลมาจากความปรารถนาที่จะทำให้เป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานบรรลุผล ไม่ใช่จาก    แรงจูงใจที่จะชดเชยความรู้สึกที่ตนเองไม่ภาคภูมิใจในตนเอง

·       ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) เป็นสภาวะที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของจิตใจและความโดดเด่นในการดำเนินชีวิตอันมีพื้นฐานของสุขภาพจิตที่ดี นำมาสู่ความสำเร็จต่าง ๆ ได้ง่าย หากจะมี IQ คือ ความฉลาดของสติปัญญาและมี EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ รวมทั้ง MQ คือ ความฉลาดทางด้าน        จริยธรรมอยู่ในตัวผู้นั้นอย่างเหมาะสม ซึ่งความภูมิใจในตนเองนับว่ามีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ความภูมิใจในตนเองจัดว่ามีผลอย่างสำคัญต่อทุกช่วงชีวิตของเด็ก เด็กที่มีความภูมิใจในตนเองต่ำ นับว่ามีความพิการทางบุคลิกภาพไม่แพ้เด็กที่มีความพิการทางร่างกาย เพราะเด็กที่มีความภูมิใจในตนเองต่ำ จะประสบความล้มเหลวในชีวิตทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเรียน ด้านมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งทางด้านที่จะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทั้งปวง ความภูมิใจในตนเองเป็นเสมือนแรงบันดาลช่วยให้ความปรารถนาใด ๆ บรรลุจุดหมายปลายทางตามที่พึงประสงค์ ขณะเดียวกันเด็กที่มีความภูมิใจในตัวเองก็จะมีความนับถือตนเอง พึงพอใจกับตนเอง และภาคภูมิใจต่อตนเองและเพศของตนเองด้วย ความภูมิใจในตนเองจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นในโอกาส   ต่อไปนี้
เมื่อรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญต่อตน
เมื่อมีความรู้สึกว่าตนมีความดีเด่นเป็นพิเศษ ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรมาทำให้มีความรู้สึกเช่นนั้น
เมื่อมีความรู้สึกว่าตนมีความดีเด่นเหนือผู้ใด สามารถกระทำสิ่งที่ต้องการได้สำเร็จ มีความรู้สึกเชื่อมั่นว่า สามารถจัดการกับทุกสิ่งที่ต้องการกระทำได้สำเร็จ
เมื่อมีความรู้สึกว่าสามารถกระทำได้อย่างมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นความเชื่อและค่านิยมของตนเอง   ความภูมิใจในตนเองหรือความนับถือตนเองจึงเป็นความรู้สึกในด้านบวก ซึ่งเป็นแรงเสริมของความรู้สึกที่ดี ความนับถือตนเองเป็นความรู้สึกที่แสดงออกเมื่อบุคคลกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ความนับถือตนเองซึ่งเกิดขึ้นในเด็ก จึงสามารถสังเกตเห็นได้เมื่อเด็กกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำสิ่งนั้นด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง (แหล่งข้อมูลจาก http://korat.nfe.go.th)

 

วิธีการเสริมสร้างและการพัฒนา Self-esteem

·       ในช่วงอายุ 1-6 ขวบแรกของชีวิต ถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญมากที่สุดในการวางพื้นฐานเรื่องพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนเรา ดังนั้นจึงถือเป็นวัยที่เหมาะสมที่จะช่วยเสริมและสร้างให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเองได้โดยมีวิธีการดังนี้
1.ให้ความรักและให้เวลา
ผู้ปกครอง ครู และบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กควรแสดงความรักกับเด็กด้วยคำพูดที่ดีและการสัมผัสที่อบอุ่น เพราะเด็กๆจะสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านี้ได้ รวมไปถึงการให้เวลากับเด็กในการรับรู้ รับฟังสิ่งที่เด็กพูดและแสดงออก พยายามหากิจกรรมทำร่วมกัน เช่น เล่นเกมทายปัญหาด้วยกัน เล่านิทานให้เด็กฟัง ทำอาหารด้วยกัน ไปเล่นกีฬาด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน และโดยเฉพาะผู้ที่เป็นพ่อแม่นั้น การที่ครอบครัวได้ใช้เวลาด้วยกันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดขึ้นกับเด็กได้ดี เพราะทำให้เขามีความสุข รู้สึกมั่นคงปลอดภัยและเกิดความมั่นใจในตนเอง
2.ค้นพบจุดเด่น

ควรสังเกตว่าเด็กมีจุดเด่นอะไร ซึ่งการสังเกตทำได้ง่ายๆคือดูว่าเด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมใดบ้าง เช่น ดนตรี ศิลปะ กีฬา อ่านหนังสือ เมื่อค้นพบว่าเด็กชอบทำกิจกรรมใดเป็นพิเศษแล้ว ก็ควรสนับสนุนให้เขาได้ทำกิจกรรมนั้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าเด็กชอบเล่นฟุตบอล ก็พาเขาไปเข้าค่ายฝึกฟุตบอลกับเด็กๆในวัยเดียวกันช่วงปิดเทอม ถ้าเด็กชอบอ่านหนังสือ วันหยุดก็พาเขาไปร้านหนังสือให้เขาได้เลือกหนังสือดีๆที่เหมาะสมกับเขาไว้อ่าน เหล่านี้ถือเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาความสามารถของตนเองในสิ่งที่เขาชอบ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้เด็กมีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ให้เขาเกิดความภูมิใจในความสามารถตนเอง ถือเป็นการสร้างเสริมความภาคภูมิใจในตนเองให้กับเด็กได้ดีอีกวิธีหนึ่ง    

                                                                   

3.สนับสนุนให้คบเพื่อนที่ดี
การให้เด็กได้เข้าสังคมกับเพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน จะช่วยให้เขาเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ได้เรียนรู้การ     อยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้ในการปรับตัวให้เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่นและในทำนองเดียวกันเขาจะได้เรียนรู้ที่จะยอมรับผู้อื่นด้วย อีกทั้งเป็นการฝึกให้ลูกรู้จักบทบาทในการเป็นผู้นำผู้ตาม ซึ่งจะช่วยให้เขาเป็นคนปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่ายสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยไม่รู้สึกมีปมด้อย
4.สอนให้ทำในสิ่งที่ดี
การฝึกให้เด็กเป็นคนรักในการทำความดี เช่น ให้มีความเสียสละ มีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นอยู่เสมอ จะทำให้เขาเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว ไม่แล้งน้ำใจ วิธีที่ได้ผลที่สุดในการฝึกให้เด็กทำในสิ่งที่ดีคือผู้ปกครองและผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกับเด็กจะต้องปฏิบัติตนให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง แล้วเขาจะซึมซับพฤติกรรมที่ดีเหล่านี้เข้าไปจนกลายไปเป็นนิสัยของเขาเอง นอกจากนี้ผู้ปกครองต้องคอยสอนเด็กว่า หากเด็กทำในสิ่งที่ไม่ดีแล้ว คงไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย หรืออาจเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นได้ การสนับสนุนให้เด็กทำในสิ่งที่ดีถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการเสริมสร้างให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะหากเขาทำตัวไม่ดี เขาจะถูกมองว่าเป็นที่รังเกียจของสังคม และส่งผลให้เขาเป็นคนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อคนอื่นและมองเห็นแต่ข้อด้อยของ   ตนเอง ซึ่งจะทำให้เขากลายเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำได้ในที่สุด

(แหล่งข้อมูลจาก ดร.แพง ชินพงศ์)

 

·       แนวทางทางปฏิบัติที่จะช่วยให้เด็กหรือวัยรุ่นมีความภาคภูมิใจในตนเอง                                             ในความเป็นจริงแล้ว  พ่อ แม่ ผู้ปกครองและครูอาจมีวิธีการช่วยเหลือเด็กๆ ได้อีกหลายๆ วิธี ด้วยการนำ  แนวทางปฏิบัติเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้แล้วแต่สถานการณ์

1.การให้เด็กมีส่วนรับผิดชอบ เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมแสดงความรับผิดชอบในงานหรือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนหรือที่บ้านตามความสามารถ วุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย และอย่างค่อยเป็นค่อยไป

กรณีตัวอย่าง :  เด็กหญิงสมศรี นักเรียนชั้นประถมปีที่6 เป็นเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ แสดงออกในลักษณะชอบควบคุมและจัดการคนอื่นๆ ครูได้จัดให้เด็กหญิงสมศรีไปช่วยสอนเด็กชั้นประถมปีที่1      และ2 และรายงานผลการสอนของตนเอง ผลการเรียนรู้ของเด็กให้คุณครูทราบ โดยเด็กหญิงสมศรีสามารถตั้งคำถาม และตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ขณะที่สอนเด็กชั้นเล็กกว่าดังกล่าว หลังจากนั้นเด็กหญิงสมศรีมี    ความสุขมาก เป็นที่ยอมรับและได้ฝึกฝนความรับผิดชอบ

2.ฝึกการตัดสินใจ จัดสถานการณ์ให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสฝึกการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตามความสามารถ วุฒิภาวะในแต่ละวัยและตามความสนใจของเด็กแต่ละคน

กรณีตัวอย่าง : เด็กชายบิ๊ก นักเรียนชั้นประถมปีที่2 มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ แสดงออกแบบหลีกเลี่ยงในเรื่องการเขียน ถ้าเขียนแล้วไม่สวย ไม่อยากเขียน ครูได้ให้ข้อเสนอแก่เด็กชายบิ๊ก ว่าสามารถที่จะหยุดเรียนในชั่วโมงเรียนได้1ครั้ง ช่วงไหนก็ได้ในทุกสัปดาห์ ถ้าเด็กชายบิ๊ก สามารถเขียนอะไรได้ในชั่วโมงการเขียนอื่นๆ เมื่อบิ๊กได้เลือกเริ่มเขียนหนังสือได้ในเวลาต่อมา

3.ให้กำลังใจ เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรม หรือผ่านความยุ่งยากใจได้ ควรให้กำลังใจที่เด็กสามารถทำได้ตลอดโดยไม่หยุดเสียกลางคัน และช่วยค้นหาการเรียนรู้จากประสบการณ์นั้น ร่วมกับเด็กไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะจบด้วยความสำเร็จหรือล้มเหลว

กรณีตัวอย่าง : เด็กชายเปรมอายุ 5ปี มีความเข้าใจว่า พ่อโกรธและผิดหวังในการสอบของตนเองที่ผ่านมา    ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำให้พ่อเด็กชายเปรมจัดเวลาช่วงหนึ่งในสัปดาห์ ประมาณ 15-30นาที ใช้เวลาอยู่กับเด็กชายเปรม ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยพ่อของเด็กชายเปรมเลือกเวลาตอนเช้า กินอาหารเช้าด้วยกันนอกบ้านก่อนไปโรงเรียน หลังจากนั้นสัมพันธภาพระหว่างเด็กชายเปรมและพ่อก็ดีขึ้น

4.การสร้างวินัยในตนเอง ฝึกการสร้างวินัยในตนเอง ให้เด็กผ่านงานที่ต้องรับผิดชอบ โดยจัดแนวทางหรือลักษณะของกิจกรรมหรืองานให้เอื้อต่อการเกิดวินัยในตนเอง คือสามารถเรียนรู้และซึมซับผ่านกระบวนการทำงานนั้นๆได้

กรณีตัวอย่าง : เด็กหญิงจุ๋ม อายุ 3ปี มีปัญหาการนอน ทุกๆครั้งที่ถึงเวลานอน จุ๋มจะงอแง ไม่ยอมเข้านอน จากการสอบถามและสัมภาษณ์พบว่า จุ๋ม ฝันร้ายเวลานอน จึงทำให้กลัวทุกครั้งที่จะต้องนอน หลังจากทำความเข้าใจกับพ่อแม่แล้ว มีการจัดห้องนอนใหม่ โดยเอารูปชองพ่อแม่มาวางไว้ที่ไฟสามารถส่งถึง          และทุกครั้งที่จุ๋มลืมตาจะเห็นรูปนั้นได้ หลังจากนั้นความกังวลใจและการไม่ยอมนอนของจุ๋มก็ดีขึ้น

5.เสริมความอบอุ่นและมั่นใจ ช่วยเหลือเด็กในด้านความรู้สึกทุกครั้งที่เด็กต้องเผชิญความล้มเหลวหรือ    พ่ายแพ้ เพราะทุกๆ ครั้งที่ล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ เด็กจะรู้สึกกลัวภาวะที่เกิดขึ้น การยืนยันถึงความรักให้เด็ก มั่นใจว่า ถ้าแม้เด็กจะล้มเหลวอย่างไร ผู้เลี้ยงดูก็ยังรัก และยินดีร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยเสมอทุกครั้ง จะช่วยให้เด็กมีความกล้าและสามารถเรียนรู้ได้

 

กรณีตัวอย่าง : ครูสมบูรณ์ ครูประชั้นประถมปีที่4 ประกาศต่อหน้านักเรียนในชั้น ในวันแรกของการเปิดภาคเรียนการศึกษาว่า ครูมีขวดโหล 1ใบตรงนี้ ทุกๆครั้งที่ใครก็ตามในชั้นพบข้อผิดพลาดจากการสอน      ครูได้ให้เอากรวด 1ก้อนใส่ลงไปในขวดโหลนี้ทุกครั้ง ถ้าขวดโหลนี้เต็มเมื่อไร ครูจะพานักเรียนในชั้นไปทัศนศึกษาตามแต่นักเรียนจะตกลงกัน การกระทำของครูสมบูรณ์ ทำให้นักเรียนกล้าโต้ตอบ และเรียนรู้  และแสดงให้เห็นว่าทุกคนสามารถที่จะทำได้ทุกคน

ดังนั้น ความภาคภูมิใจในตนเองมีบทบาทอย่างมากในชีวิตของทุกคน ความเจ็บป่วยทั้งกายและใจที่เกิดขึ้น ตลอดจนคุณภาพชีวิตจะดีหรือเลว เมื่อสืบค้นไปสู่วัยเด็กจะพบว่าขึ้นอยู่กับลักษณะการปลูกฝังหรือการเลี้ยงดูที่มีผลต่อความภาคภูมิใจอย่างมาก ดังนั้นความภาคภูมิใจในตนเองที่แข็งแกร่งจึงเป็นมรดกที่ล้ำค่าสำหรับเด็กทุกคน  (แหล่งข้อมูลจาก "ชลอศักดิ์ ลักษณะวงศ์ศรี" : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต)

 

·       การเสริมสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง 10 ประการ

การเสริมสร้างหรือสนับสนุนให้เด็กเกิดมีความรู้สึก และความสามารถแตกต่างจากผู้อื่นที่เรียกว่า               เกิดความภาคภูมิใจในตนเองนั้น พ่อแม่ควรรู้จักวิธีที่จะเสริมสร้างมาตั้งแต่เด็กและมีอายุไม่มากนัก                            ซึ่ง รศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์        โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อแนะนำไว้ 10 ประการดังนี้
1.กระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากความคิดของผู้ใหญ่                                                               แม้ว่าผู้ใหญ่จะไม่เห็นด้วยกับความคิดที่เด็กแสดงออกก็ตาม แต่เด็กต้องการทราบว่าผู้ใหญ่จะยอมรับ          ความคิดเห็นของตนหรือไม่ ถ้าเด็กรู้ว่าผู้ใหญ่ยอมรับความคิดเห็นของตน เด็กก็จะแสดงออก แต่ถ้าผู้ใหญ่  ไม่ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก แต่ไม่ยอมรับความคิดเห็นที่เด็กนำมาจากผู้ใหญ่ เด็กก็จะเอาความคิดเห็นของผู้ใหญ่มาแสดง เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ลักษณะดังกล่าวนี้มีความสำคัญยิ่งในการช่วยให้เด็กแก้ปัญหาต่างๆ เด็กจะมีความรู้สึกดีใจที่รู้ว่าตนได้รับการยอมรับ แม้ว่าความคิดเห็นนั้นๆ อาจจะไม่เฉียบแหลมนัก     ก็ตาม ความคิดเห็นที่เด็กเสนอแม้จะไม่มีคุณค่าหรือแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ก็ทำให้เด็กกล้าแสดงออกซึ่งความ   คิดเห็นของตนเองได้ดี โดยไม่ต้องพึ่งความเห็นของผู้อื่น

2.ต้องแสดงการยอมรับเด็ก การแสดงการยอมรับเด็กและให้เด็กได้ทราบนั้น พ่อแม่ต้องแสดงออกด้วยการใช้คำพูดแสดงการยอมรับในทัศนคติหรือความคิดเห็นของเด็ก ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้รับรู้อย่างชัดเจน เช่น      พ่อเข้าใจลูกว่าทำไมลูกจึงทำเช่นนั้น แต่พ่อยอมรับการกระทำของลูกไม่ได้ เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวเป็นการแสดงการยอมรับในตัวเด็ก แต่ไม่ยอมรับการกระทำของเด็ก ดังนั้น การยอมรับเด็กมิได้หมายถึงการอนุญาตให้เด็กกระทำได้ทุกอย่างตามใจชอบ เมื่อเด็กได้รับการยอมรับ เด็กก็จะเห็นความสำคัญของตนเอง เกิดความมั่นใจ และกล้าแสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง

3.ชี้ให้เห็นว่าเด็กมีความแตกต่างจากผู้อื่นหรือมีความพิเศษ                                                                         พ่อแม่ต้องพยายามแสดงให้เด็กเห็นว่า  เด็กมีทั้งความเหมือนกับผู้อื่น และความแตกต่างไปจากผู้อื่น          แต่เด็กแต่ละคนก็มีความรู้สึกว่าตนมีความแตกต่างจากเด็กอื่น การแสดงความคิดเห็นที่มีลักษณะเป็น         ตัว  ของตัวเอง แสดงว่าเด็กมีความพิเศษในตัวเองแล้ว  การยอมรับในความเป็นพิเศษของเด็กนี้ จัดว่ามี   ความสำคัญยิ่งสำหรับการสร้างเสริมความพิเศษต่างจากผู้อื่นในเด็ก พ่อแม่อาจแสดงการยอมรับเด็ก            ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ลูกระบายสีรูปนี้ได้สวยงามจริงๆ ลูกทำตัวได้เรียบร้อยน่ารักมาก ตอนที่ป้าสมหญิง      มาที่บ้านเรา เหล่านี้ทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าเด็กมีความดีงามในตนเอง รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ดี         และส่งเสริมให้ทำดียิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้น เด็กจะได้รับรู้ความก้าวหน้าของตน จากคำพูดของพ่อแม่ เช่น             เมื่อวันก่อนลูกยังทำไม่ได้เลย แต่วันนี้ลูกทำได้ดีเยี่ยมจริงๆ คราวหน้าคงจะทำได้ดีกว่านี้แน่ เป็นต้น          พ่อแม่ต้องให้เด็กรู้ว่าการที่เด็กกระทำแตกต่างจากผู้อื่น จะได้รับการยอมรับจากพ่อแม่เช่นกัน

4.ให้เด็กกระทำตามวิธีการของตนเองให้มากที่สุด    พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้กระทำตามวิธีการของตนเองให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหรือการกระทำสิ่งใด โดยเข้าไปยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุด พ่อแม่มักเป็นห่วงด้วย เกรงว่าเด็กจะทำไม่สำเร็จหรืออาจเกิดความเสียหายขึ้น ถ้าหากปล่อยให้เด็กกระทำไปตามลำพัง เมื่อใดที่พ่อแม่มอบหมายงานให้เด็กทำและคิดว่าเด็กต้องทำเสร็จ พ่อแม่ต้องปล่อยให้เด็กทำจนสำเร็จภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรฐานที่เหมาะสม และตามวิธีการของเด็กเอง เมื่อเด็กกระทำภารกิจดังกล่าวสำเร็จสมบูรณ์ตามวิธีการของเด็กเอง และได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ เด็กก็จะเกิดความรู้สึกพิเศษต่างจากผู้อื่น    ในการกระทำสิ่งใดก็ตาม พ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจด้วยตนเอง ให้เด็กรู้จักเลือกวิธีใดเหมาะสม ที่สุด ได้ประโยชน์สูงสุด มีคุณค่าที่สุด และเด็กพอใจที่สุด


5.ให้โอกาสแก่เด็กในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์    พ่อแม่ต้องสร้างบรรยากาศในบ้าน ด้วยการจัดหาวัสดุสิ่งของที่จะช่วยให้เด็กสามารถแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ให้มีจำนวนเพียงพอ เช่น กระดาษสี กรรไกร      ใบมีด พู่กัน ดินสอสี ชอล์กสี แผ่นไม้ ไม้อัด ใบเลื่อย กาว เชือก ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านที่ไม่ได้ใช้แล้ว สามารถนำมาดัดแปลงเพื่อเป็นสื่อในการแสดงออกอย่าง         สร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างกว้างขวาง เด็กอาจนำมาต่อเป็นบ้าน เป็นปราสาท เป็นรถไฟ เป็นเรือ อันจะช่วยให้เด็กพัฒนาความสร้างสรรค์ของตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น พ่อแม่อาจร้องเพลง เปิดแถบเสียง หรือเล่นดนตรี แล้วให้เด็กฟ้อนรำหรือร้องตาม ให้เด็กเล่าเรื่องที่ได้ประสบมาจากโรงเรียน เหล่านี้จะช่วยให้เด็กแสดงออกด้วยความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

6.ให้เวลาเด็กในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในสิ่งที่เด็กสนใจ   การเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกในสิ่งที่เด็กสนใจนั้น พ่อแม่ต้องไม่ทำให้เด็กมีความรู้สึกว่า เด็กถูกบังคับให้ทำ ต้องทำตามรูปแบบ ต้องทำให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด ความสนใจของเด็กเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางอย่างที่เด็กสนใจเด็กอาจใช้เวลาทำ  เป็นชั่วโมง ถ้าหากเด็กยังแสดงความสนใจในเรื่องหนึ่ง พ่อแม่ต้องไม่ขัดจังหวะ และต้องไม่คำนึงถึงเรื่องที่    เกี่ยวข้องมากเกินไป จนทำให้เด็กเสียความสร้างสรรค์ บางโอกาสพ่อแม่ต้องยอมรับในความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ความล่าช้า ความอึกทึกอันเกิดจากการแสดงออกของเด็ก เด็กที่มีความสร้างสรรค์จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นความสร้างสรรค์ไปหมด เช่น ท่อนไม้ ฝากระป๋อง ยางรถ ฝาขวดน้ำอัดลม แกนกระดาษเช็ดมือ เสื้อผ้าเก่าๆ เป็นต้น เด็กสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการแสดงออกได้อย่างกว้างขวาง หนังสือในห้องสมุด รายการโทรทัศน์ จัดว่าเป็นเครื่องกระตุ้นให้เด็กมีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์มากที่สุด

7.หลีกเลี่ยงการเยาะเย้ยหรือทำให้เด็กอับอาย    แม้ว่าเด็กจะมีข้อจำกัดในการกระทำบางอย่าง ซึ่งทำให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้อย่างสมบูรณ์ แต่ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรพูดเยาะเย้ยหรือถากถางเด็ก ทำให้เด็กได้รับความ  อับอาย อันจะเป็นผลทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก เนื่องจากกลัวถูกพูดถากถาง กลัวได้รับความอับอาย       การทำให้เด็กได้รับความอับอาย แสดงว่าเด็กถูกตัดสินว่าผลงานของเด็กไม่บรรลุมาตรฐานที่กำหนดไว้     ซึ่งอาจเป็นมาตรฐานของผู้ใหญ่หรือมาตรฐานของผู้อื่น ทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าความสามารถหรือความ      ดีเด่นของตนไม่ได้รับการยอมรับ พ่อแม่พึงรำลึกอยู่เสมอว่า การจะตัดสินเด็กควรตัดสินที่การกระทำของเด็กมิใช่ตัดสินที่ลักษณะนิสัยบุคลิกภาพของเด็กโดยส่วนรวม สิ่งที่ฝังใจเด็กในอดีตสมัยเยาว์วัยจะฝังอยู่ในความสนใจของเด็กจนตลอดชีวิต หากเด็กมีความสนใจอะไรเป็นพิเศษ พ่อแม่อย่าเย้ยหยันความคิดของเด็ก อย่าดูถูกความสามารถของเด็ก

8.ช่วยให้เด็กหาวิธีที่จะแสดงออกอย่างเหมาะสม   ผู้ใหญ่ควรตระหนักอยู่เสมอว่า การลงโทษเด็กนั้นควรกระทำเพราะเด็กทำผิดอย่างไร ที่ใด (วิธีการสถานที่) มิใช่ลงโทษเพราะเด็กทำอะไรผิด (เรื่องที่ทำผิด) เช่น เด็กเล่นส่งเสียงดังกันในห้องของเด็ก ไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่ถ้าหากมีแขกมาบ้าน เด็กเล่นส่งเสียงดังกัน   ที่ห้องรับแขก ถือว่าเป็นความผิดหรือเด็กอาจจะระบายสีกันในครัว ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าหากมาระบายสีกัน     ที่ห้องรับแขกถือว่าผิด การเล่นกันในบ้านถือว่ากระทำได้ แต่การเล่นและส่งเสียงดังในบ้านถือว่าเป็น      พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น พ่อแม่ควรแนะนำให้เด็กทำงานหรือเล่น โดยที่การกระทำของเด็กไม่     รบกวนผู้อื่น การกระทำเช่นนี้มิได้หมายความว่า เมื่อเด็กทำอะไรแล้วคนอื่น ๆ จะต้องยุติกิจกรรมของตน  ทั้งหมด ในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เด็กจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอื่น ๆ ซึ่งก็กำลังทำกิจกรรมอยู่เช่นกัน การกระทำท่ามกลางคนหมู่มาก แต่ละคนจำเป็นต้องมีความอดกลั้นและอดทน การที่   เด็กมีความสร้างสรรค์ มิได้หมายความว่าจะต้องทำตัวให้เป็นที่น่ารังเกียจ เช่น ทำอะไรได้ตามใจ ทำอะไร  ได้แปลก ๆ ทำอะไรได้รกรุงรัง เป็นต้น เมื่อผู้ใหญ่ได้แสดงให้เห็นทางเลือกที่เหมาะสม และเด็กได้เลือก  ทางเลือกนั้น ๆ นำมาปฏิบัติแล้ว ผู้ใหญ่ก็ควรแสดงการยอมรับเด็ก และชมเชยในความสำเร็จ
 
9.เด็กที่มีความพิเศษต่างจากผู้อื่นต่ำ ควรได้รับความชมเชยเป็นส่วนตัว  โดยปกติเด็กที่มีความรู้สึกว่า       ตนเองไม่มีความดีพิเศษอะไร มักจะไม่กล้ารับคำชมเชยเมื่อเด็กกระทำสำเร็จหรือกระทำความดี เด็กจะมีความกระดากอายเมื่อได้รับคำชมเชย เด็กกลัวคำครหานินทาจากผู้อื่น ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้ผู้อื่นทราบว่าตนได้รับคำชมเชย แม้แต่ในครอบครัวก็เช่นกัน ดังนั้นเมื่อเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับความพิเศษที่ต่างจากผู้อื่น    ทำกิจกรรมประสบความสำเร็จ พ่อแม่หรือครู ควรหาโอกาสยกย่องชมเชยเด็กเป็นส่วนตัว เช่น กระซิบที่หูเรียกเด็กมาชมตัวต่อตัว หรือไปชมเด็กที่ห้องนอนของเด็ก เป็นต้น ทั้งนี้พ่อแม่ต้องแสดงให้เห็นว่าการกระทำของเด็กนั้นเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เป็นที่ประทับใจของผู้ใหญ่มาก
 
10.เด็กที่มีความพิเศษต่างจากผู้อื่น เป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูง    เด็กที่มีคุณธรรมสูงเป็นผู้ที่มีความรู้สึกว่าตนมีความพิเศษต่างจากผู้อื่น ความเป็นผู้มีคุณธรรมสูงทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนดี ตนเองเป็นคนมีคุณค่า แม้จะไม่มีคุณวิเศษในด้านอื่น เช่น เรียนดี กีฬาเก่งหรือร่ำรวย เป็นต้น แต่ความเป็นผู้มีคุณธรรมทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเป็นคนดี ความเป็นคนดีของเด็กทำให้เด็กมีความรู้สึกว่า ตนมีความพิเศษแตกต่างจากผู้อื่น    ดังนั้นพ่อแม่และครูที่จะฝึกให้เด็กมีความรู้สึกพิเศษต่างจากผู้อื่น จำเป็นต้องฝึกอบรมให้เด็กเป็นผู้มีคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเมตตากรุณา ไม่อิจฉาริษยา เป็นต้น ความรู้สึกว่าตนเป็นคนดี มีคุณธรรมเป็นความรู้สึกที่ก่อให้เกิดความพิเศษต่างจากผู้อื่น ดังนั้นในการสอนให้เด็กมีคุณธรรมจึงเป็นการพัฒนาความพิเศษต่างจากผู้อื่นให้แก่เด็กได้อีกทางหนึ่ง การฝึกให้เด็กมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ การฝึกให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีการฝึกให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น จึงเป็นเบื้องต้นของการปลูกฝังความพิเศษต่างจากผู้อื่น

 

·       Self-esteem จะเป็นเสมือน Software ที่ติดตั้งอยู่แล้วในแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าคนๆ นั้นจะสามารถประสบความสำเร็จได้หรือไม่ เพราะคนที่มี Self esteem ต่ำคือคนที่คิดอยู่เสมอว่าตนเองไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ ทำอย่างไรก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เพราะคิดอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ล้มเหลว   สมความปรารถนา แต่ในขณะเดียวกันคนที่มี Self esteem สูงจะเป็นคนรู้ดีว่าตนเองนั้นเป็นคนดี มีคุณค่า เป็นที่รักของคนอื่น เป็นคนมีความสามารถ พร้อมที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองอยู่ตลอดเวลา และสามารถฝ่าฟันปัญหาชีวิตได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เหล่านี้เป็นเสมือนตัวที่คอยเตือนสติและให้กำลังใจตนเองอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ประสบความสำเร็จ และมีความสุขได้อย่างไม่ยากเย็นนัก Self esteem เป็นสิ่งที่สามารถสร้างเองได้  ซึ่งวิธีการเลี้ยงดูบุตรหลานและวิธีการทำให้คนรอบข้าง มี Self-esteem ทำได้ ดังนี้                                                                                                                                               1)ในกรณีที่เป็นพ่อแม่ต้องให้โอกาสลูกในการใช้เหตุผลในการเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง                  กรณีคนรอบข้างเราต้องให้อีกฝ่ายรู้จักคิดและแสดงความเห็น และเราเป็นผู้ฟังที่ดี แต่จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ต้องมีเหตุผลในการอธิบาย                                                                                                                                                          2)เวลาวิพากษ์วิจารณ์ หรือดุด่าว่ากล่าวควรมีเหตุผลอธิบายทุกครั้ง ไมใช่ทำตามอารมณ์ และควรจะเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเรื่องใด เรื่องเก่าที่เคยทำผิดไม่ต้องขุดมาว่าซ้ำ เพราะจะเป็นการทำลาย Self-esteem ของเด็กได้

·       ปัจจัยที่มีผลในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลที่สำคัญ ๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มหรือตั้งต้นจากวัย        เด็กตอนต้น Carl Roger (1902-1987) นักจิตวิทยามนุษยนิยมได้อธิบายว่า การนับถือตนเองพัฒนามาจาก    วัยเด็ก และเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของพ่อแม่ บุคคลรอบข้างที่เด็กได้มี ปฏิสัมพันธ์ ด้วยให้การยอมรับและมี   ปฏิสัมพันธ์ หรือ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อเด็กอย่างไร เด็กก็จะพัฒนาปฏิสัมพันธ์ในทิศทางที่ผู้ใหญ่มีต่อเขา พ่อแม่เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในการพัฒนาการนับถือตนเองในวัยเด็กตอนต้น ครั้นเมื่อพัฒนามาถึง วัยเด็กตอนปลายและวัยรุ่น ก็จะได้รับอิทธิพลจากครู เพื่อนและบุคคลอื่น ๆ ที่เขามีปฏิสัมพันธ์ด้วยว่าจะ      มีทิศทางในการตอบสนองใน ลักษณะสร้างสรรค์หรือทำลายความรู้สึกที่เขามีต่อตัวเอง (Denis Waitley : 1993)  เมื่อพ่อแม่หรือบุคคล ที่มีความสำคัญในชีวิต แสดงให้บุคคลรู้ว่าเขาได้รับการยอมรับอย่างไม่มี    เงื่อนไข คือยอมรับได้ในทุกกรณีไม่ว่าจะเป็นอย่างไร บุคคลก็จะพัฒนา การนับถือตนเองมากขึ้น ถ้าพ่อแม่  ผู้ปกครองแสดงให้เห็นว่าสามารถยอมรับเด็กต่อเมื่อ เด็กเป็นหรือทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการ เด็กจะพัฒนาการนับถือตนเองได้ไม่ดีนัก เพราะเด็กไม่เข้าใจว่าผู้ใหญ่ต้องการให้ทำอะไรหรือต้องการอะไรจากเขา และท้าย ที่สุดเขาก็จะรู้สึกว่าเป็นเด็กไม่ดี เพราะไม่สามารถทำตามที่ผู้ใหญ่อยากให้ทำได้  เด็กจะยิ่งสับสนถ้าผู้ใหญ่มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรตอกย้ำ ความรู้สึกของเด็กโดยเอาเด็กไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือความรู้สึกที่ว่าเด็กยังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น เพราะเด็กจะเปรียบเทียบ ตนเองกับเด็กคนอื่นแล้วด้อยกว่าก็จะรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองลดลง ซึ่ง Carl Roger เชื่อว่า Self-esteem จะพัฒนาในเด็กขึ้นอยู่กับ การยอมรับของพ่อแม่ผู้ปกครอง 

พ่อแม่ ให้การยอมรับเด็ก โดยปราศจากเงื่อนไข ==>>> การนับถือตนเองสูง                                                              พ่อแม่ ให้การยอมรับเด็ก แบบมีเงื่อนไข ==>>>การนับถือตนเองต่ำ

(แหล่งข้อมูลจาก บทความ "The Six Pillars of Self Esteem" แต่งโดย Nathaniel Brandon ว่าด้วยเรื่อง  การสร้างความนับถือตนเองหรือ Self esteem)

 

·       เทคนิคการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง

วิธีการที่จะเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้ตนเองนั้น มีเป้าหมายหลักเพื่อให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์  มีความสำคัญ มีคุณค่าและสามารถกระทำสิ่งต่างๆได้ และรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จ เป็นที่พอใจของตนเองและเป็นที่ยอมรับจากบุคคลรอบข้าง วิธีที่จะช่วยให้บุคคลมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีเทคนิค  ดังนี้

1)            ค้นหาความสนใจ จุดมุ่งหมาย และข้อดีของตนเอง

2)            เมื่อทำสิ่งใดก็ตาม ให้มุ่งมั่นในการทำงานมากกว่าหวังผลลัพธ์ของการทำงาน

3)            มองตนเองและคนอื่นในแง่ดีไว้ก่อน

4)            ควรจำไว้ว่าบางครั้งเราก็อาจทำผิดได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นการล้มเหลว

5)            ให้เวลาและโอกาสกับตนเองในการเริ่มต้นใหม่

6)            จงพูดกับตนเองเสมอว่า ฉันเป็นคนมีความสามารถ ฉันเป็นคนมีความรับผิดชอบ

 

กิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้าง Self-esteem

·       ส่งเสริมให้เด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์

กิจกรรมที่เสริมสร้าง การทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกัน เพื่อประสบความสำเร็จ จะเป็น  กิจกรรมที่ดีในการสร้างความมั่นใจ และ ความภูมิใจ ในตนเอง เช่น กิจกรรมที่ให้พี่สอนน้องอ่านหนังสือ จะเป็นผลดีต่อความภูมิใจในตนเองทั้งสองฝ่าย เป็นต้น ส่วนกิจกรรมที่เน้นการแข่งขัน และ ผลลัพธ์ของการแข่งขันจะไม่ค่อยเป็นผลดีนัก เพราะจะทำให้เด็กเคร่งเครียดจนเกินไป

·       ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง Self-esteem ให้กับเด็ก

1)            ให้เด็กๆลองสำรวจหรือนึกถึง "ความสามารถ ข้อดีหรือสิ่งที่ดีๆเกี่ยวกับตัวเอง" แล้วเขียนลงบนกระดาษด้านหนึ่ง ส่วนกระดาษอีกด้านหนึ่งนั้น ให้เด็กๆเขียนเกี่ยวกับ "สิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด หรือข้อบกพร่องของตัวเอง" โดยมีจุดประสงค์เพื่อ

-         ให้เด็กได้ทบทวน ทำความเข้าใจ และยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็น ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละคน

-         ให้เด็กได้ตระหนักและเข้าใจถึงความแตกต่างของมนุษย์ ว่าทุกคนย่อมมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน

-         ให้เด็กฝึกมองปัญหาและมองโลกในแง่ดี รู้สึกดีและภาคภูมิใจในความสามารถหรือข้อดี/ข้อเด่นของตนเอง แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดกระทั่งถึงศักยภาพหรือความสามารถสูงสุดของตนเอง

-         ให้เด็กแต่ละคนเข้าใจถึงข้อบกพร่องของตนเอง เพื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขให้ดี  ยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ความเข้าใจและการแก้ปัญหา ไม่ใช่การดูถูกหรือตำหนิตนเอง

2)            ให้เด็กๆสำรวจและเขียนเกี่ยวกับ "ความใฝ่ฝัน หรือเป้าหมายชีวิตของตนเอง" เพื่อให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะฝันและมีความหวังในชีวิต ตลอดจนมุ่งมั่นพยายามทำความใฝ่ฝันนั้นให้สำเร็จ ซึ่งเจ้าหน้าที่หรือผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมของเด็ก และแนะแนวทางในการนำไปสู่ความสำเร็จนั้น

3)    กิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครัว (เช่น ค่ายครอบครัว) เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันกับพ่อแม่หรือผู้ปกครองของตนเองมากยิ่งขึ้น โดยรายละเอียดของค่ายครอบครัวนั้นควรมุ่งเน้นที่การฝึกให้พ่อ แม่ ลูกได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน พยายามทำความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน ตลอดจนเรียนรู้ถึงวิธีการแสดงความรักที่ถูกต้องเหมาะสม