Saturday, April 30, 2011

รายงานผล/ประมวลภาพ Homehug ครั้งที่ 4 (25-27 เมษายน 2011) ราชาวดี จ. ขอนแก่น (http://homehug.blogspot.com)

เสร็จสิ้นไปแล้วนะครับ สำหรับงาน โฮมฮัก (Homehug) นักพัฒนาครั้งที่ 4 ที่โรงแรมราชาวดี จ. ขอนแก่น ทีมงานพวกเรากว่า 120 คน ได้ร่วมกันเรียนรู้ และ แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์กันในหัวข้อต่าง ๆ ประกอบไปด้วย 3 core session (IPM&New ADP, การดำเนินงาน และ ความท้าทายของ Economic Development และ ICT4D) กว่า 20 open session ที่พี่น้องได้แบ่งปัีน และ เรียนรู้ ส่วนตัวผมประทับใจในความตั้งใจ และ การเตรียมตัว และ มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

ผมได้รับไฟล์ที่ทาง MQS Team ได้รวบรวมให้เราแล้ว ซึ่งจะนำส่งผ่าน RM ของท่านต่อไป และ น้องแอนของเราก็ได้ upload รูปภาพในงานขั้นไว้ที่ facebook แล้ว สนใจชม click ได้ที่ link นี้นะครับ http://www.facebook.com/media/set/fbx/?set=a.10150166329855124.309229.725220123

ผมดึงมาบางส่วนเพื่อเป็น highlight ให้พี่น้องได้เห็น และ เป็นความทรงจำร่วมกันผ่าน blog ของ โฮมฮักไว้ดังนี้ครับ
เหมือนงานวัดเนาะ

ท่านผู้อำนวยการ และ ผอ. โรงเรียนบ้านโหล่น (ขวัญใจมหาชน)




งานนี้มีเก้าอี้ไว้วางหนัังสือ ผู้เข้าร่วมการประชุมนั่งพื้นครับ

ห้องประชุมที่ 4 จำได้มั้ยครับ

ก่อนฝนตกหนักวันที่ 2 ของการประชุม ร้อนมาก ๆ 


มาดหัวหน้าเจ๋งเรา สุดยอด

ดู RM ของเรากับ I




MQS show (รางวัลแด่คนช่างฝัน version ไวโอลิน)




เล่่าสู่กันฟัง จากพี่ ๆ รุ่นใหญ่ของเรา
ประทับมใจมาก รวมถึง รุ่นน้องของเราด้วย


พิธีกรคู่ขวัญ สองคนนี้อายุงานรวม ๆ แล้ว น่าดู...

เกมส์โชว์จากโซน 3

อาหารอีสานแท้ ๆ หุ หุ 



ปลาดิบ ไม่ใช่ปลาแดก

ก๋วยเตี๋ยวอร่อยมาก ๆ ครับ ขอบอก


อาเฮียช้าง และ อะไรนะ ลู่ ลู่ เล่ เล่ เรียกไม่ถูก


บรรยากาศห้องประชุมย่อย



นมัสการทุก ๆ เช้า






มีอีกหลายรูปที่พี่น้องเราได้บรรทึกไว้ หวังว่าจะได้ดูชมในโอกาสต่อ ๆ ไป

========================================================================

ประมวลสรุปการเรียนรู้จากโฮมฮักนักพัฒนาครั้งที่ 4
1.     ประเด็นหรือหัวข้อที่ได้เรียนรู้
คนที่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1
1.     เรื่อง       แบ่งปันประสบการณ์ SBM
2.     เรื่อง       Power to change พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
2
1.     KM 1: Basic Understanding about KM and Sharing on BP report
3
2.     การจัดการสื่อสารภายในสำนักงานด้วย personal email
4
3.     การตั้งคำถมวัดผลกิจกรรม
5
4.     แบ่งปันประสบการณ์ SBM
6
5.     TBD , ICT4D
7
6.     แบ่งปันประสบการ์ SBM
8
7.     Mind mapping session : การขุดสระและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้จากประสบการณ์
9
8.     Power to change : การหลอมรวมงาน SSO กับทีมงานทุกๆคน
10
9.     การแบ่งปันประสบการณ์ SBM
11
10.   BIS
11.   ACIAR project
12.   LSTD
13.   การทำ Blog
12
1.     Blog
2.     BIS
13
1.     การแบ่งปันประสบการณ์ SBM
14
2.     BIS
3.     Key Question
15
1.     BIS
16
2.     ประสานทุกส่วนมากล้วนข้อมูล


2.     สิ่งที่ได้รับหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้
คนที่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1
1.     การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานให้แต่ละแผนงสานมีส่วนร่วมในงานเด็กมากยิ่งขึ้น
2.     การมองให้เห็นคุณค่าของงาน ทำให้งานทุกส่วนมีคุณภาพและเจ้าหน้าที่มีกำลังใจในการทำงาน
3.     การมองตัวเรา ตัวสภาพความเป็นอยู่ วิเคราะห์การทำงาน ขอบเขต บทบาทหน้าที่ เป้าหมายที่เราต้องการนำไปสู่เป้าหมาย
4.     การมองเขา สภาพความเป็นอยู่ บริบท วิเคราะห์ ขอบเขต วิเคราะห์การมีส่วนร่วม และการเชื่อมความร่วมมือ
2
1.     คนได้รับความรู้จากภายนอก ถ้าไม่นำไปใช้ถือเป็นเพียงการรับรู้ ถ้านำไปใช้ถือเป็นการเรียนรู้ เกิดประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญ เกิดองค์ความรู้ภายใน มีการนำความรู้ออกมา โดยการจัดเวที เกิดการจัดการความรู้ มี 2P = people,process , 2T=tools,technology
2.     เป้าหมายการจัดการความรู้ พัฒนางาน คน องค์กร ชุมชน
3.     วงจรการเรียนรู้ จะได้ความคิดสร้างสรรค์ , good practice , best practice
3
1.     เป็นเทคนิคการบริหารของหัวหน้าทีม
2.     เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ
3.     รวดเร็ว ลดเอกสาร ประหยัดทรัพยากร
4
1.     ITT
2.     การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
3.     กำหนดวัตถุประสงค์
4.     กิจกรรมสะท้อนความต้องการ ความเป็นไปได้มากน้อย
5
1.     การทำงานกับคน
2.     การรู้จักวางแผนในการทำงาน
3.     รู้เขา รู้เรา
6
1.     การสร้าง Blog
·         มีเรื่องราว = เรื่องงาน เรื่องส่วนตัว ประสบการณ์
·         ช่องทาง = ใช้เป็นเครือข่าย email
·         การสื่อสาร = รูปภาพ ข้อความ วิดีโอ
7
2.     การมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.     แนวทางการแก้ปัญหา
4.     การบริหารแบบมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์
5.     แลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์จากหน่วยงานร่วม/บุคคลภายนอก
8
1.     การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
2.     การมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
3.     ความยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากการขุดสระ
4.     การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ (การจัดซื้อจัดจ้าง)
9
1.     การทำงานเป็นทีมความกระตือรือร้น เกิดกระบวนการเรียนรู้ของแต่ละด้าน การพึ่งพาอาศัยกันในกลุ่มทีม ช่วยลดปริมาณงานให้ลดลงง เจ้าหน้าที่มีการวางแผนร่วมงานกันมากขึ้น
10
2.     การพัฒนาตัวเอง เรียนรู้จากธรรมชาติ เช่น เมฆ ภูเขา ต้นไม้ น้ำ (มองเขามองเรา)
3.     การเรียนรู้ผู้อื่น
4.     การทำงานร่วมกับผือื่นอย่างมีความสุขและบรรลุความสำเร็จ
5.     การปรับตัวเข้ากับชุมชน
6.     การทำงานที่มุ่งสู่ความสำเร็จ
7.     กล้าที่จะคิดนอกกรอบ
8.     การทำงานไม่เลือกปฏิบัติ
11
1.     การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้ด้วยเพื่อได้ชิ้นงานที่ถูกต้อง
2.     ได้วิธีการปรับปรุงดินวิธีใหม่โดยใช้แร่ดินเหนียว
3.     การทำงานในชุมชน
4.     การแบ่งปันข้อมูล ผลงานของแต่ละ ADP ให้สัมฤทธิ์ผล
12
1.     Blog : สามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนงานของโครงการได้ ด้านข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ
2.     BIS : สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานได้โดยลดข้อติดขัดในด้านโปรแกรมหลายอย่าง
13
1.     การปรับตัวในการทำงาน การก้ไขปัญหาโดยใช้จิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้อง
14
2.     การบันทึกผลในตาราง
3.     ความเข้าใจ
4.     ความคลาดเคลื่อนของเวอร์ชั่นที่ทำให้ข้อมูลประมวลผลไม่ได้
5.     ห้ามตัดคอลัมน์หรือแถว ควรเปิดแมโคร
15
1.     วิธีการลงข้อมูลที่ถูกต้อง
2.     การวิเคราะห์ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายสอดคล้องกับงบประมาณดำเนินการ
3.     เทคนิคการตีความหมายของข้อมูล
4.     การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
16
1.     บทบาทของ M&E ในการวางแผนงานและออกแบบเครื่องมือให้กับเจ้าหน้าที่โครงการและการนำผลประเมินข้อมูลมาช่วยการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่
2.     M&E ต้องลงพื้นที่จริงด้วย ไม่เพียงแต่เอาแบบฟอร์มให้เจ้าหน้าที่ลงเก็บข้อมูล

3.     คำถามสำคัญจากการเรียนรู้
คนที่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1
1.     เราจะมีวิธีการพูดและประสานงานกับชุมชนอย่างไรให้มีความน่าเชื่อถือและตอบสนองแนวทางเป้าหมายที่วางไว้
2
2.     ในการเขียนรายงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ต้องดูจากส่วนใดของข้อมูลของโครงการเวลารายงาน ผลสำเร็จเด่น ผลพลอยได้
3
3.     เจ้าหน้าที่ลงไปพื้นที่ ในพื้นที่ไม่มีเครือข่าย Internet จะทำยอ่างไร
4.     การสื่อสารนี้จะใช้ได้เฉพาะกับบางโครงการ เช่น โตครงการพัฒนาการศึกษา เพราะโรงเรียนมี Internet แต่อาจจะใช้ไม่ได้กับโครงการพัฒนาอาชีพ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวบ้าน
4
1.     การวัดผลจะวัดตอนไหน
2.     ผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมส่งผลระดับ output หรือไม่ บางครั้งตอบ ITT
5
1.     เป้าหมายชีวิตในการทำงานคืออะไร
6
2.     เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปิดสอนให้พนักงานทุกคนได้เรียนรู้ในเรื่องนี้
3.     เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีข้อกำหนดในการใช้งานระหว่างเรื่องส่วนตัวและใช้ในเวลาทำงาน
7
1.     เทคนิคการแก้ไขปัญหากับคน
8
2.     อะไรคือความยั่งยืนและกระทบต่ออาชีพและรายไดอย่างไร ระยะยาวจะเป็นอย่างไร
9
3.     ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมมีมากน้อยเพียงใด มีผลกระทบต่องานด้านอื่นหรือไม่
10
4.     วิธีการหรือทฤษฏีในการทำงานที่ดีหรือตัวบุคคลที่ทุ่มเทในการทำงาน
11
5.     BIS : กิจกรรมที่ทำสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ตาม Output จริงหรือไม่
6.     ACIAR : สามารถลดต้นทุนได้จริงหรือไม่ เพิ่มผลผลิตได้มากจริงหรือ
7.     EDU7 : สามารถนำมาใช้ในประเทศไทยได้จริงเพียงใดในการนำหลัก LSTD มาใช้
8.     DME4 : จะมีการเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด
12
1.     Blog : การสร้างปฏิสัมพันธ์ใน Blog จะมีการดำเนินการอย่างไร
2.     กลุ่มเป้าหมายที่บันทึกใช้ตรวจสอบการทำงานได้จริงหรือ
13
1.     เป้าหมายชีวิตของเราคืออะไร
2.     ทำไมเราต้องทำงานองค์กรนี้ ตรงกับเป้าหมายชีวิตเราหรือเปล่า
3.     องค์กรนี้ช่วยให้เรามีความหมายในโลกใบนี้หรือไม่ ช่วยให้เราก้าวไปตามเส้นทางเป้าหมายชีวิตของเราบ้างไหม
4.     สมมุติว่าเราจะอยู่องค์กรนี้ต่อไป เราจะพิชิตเป้าหมายของชีวิตได้อย่างไร
14
1.     ฐานะ ความรวย เป็นการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ไม่สามารถแยกจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมซ้ำได้ วัดค่าความจริง...
15
2.     ถ้าจัดกิจกรรมนอกเหนือจากโครงการจะทำอย่างไร
16
3.     เจ้าหน้าที่ M&E โครงการจริงๆแล้วได้ทำบทบาทหน้าที่ของตนเองจริงหรือ
4.     ข้อมูลที่เก็บแท้จริงถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงการจริงหรือไม่

4.     การนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
คนที่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1
1.     การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน SSO สู่แผนงานด้านอื่นๆในศูนย์ประสานงาน
2.     การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และการสร้างความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมของผู้นำและชุมชน
2
1.     การเขียนรายงานที่มีคุณภาพ
3
2.     การติดต่อประสานงานในโครงกรรระหว่างทีมงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4
3.     เจ้าหน้าที่ เข้าใจกรอบแผนงานของตัวเอง
4.     ทุกคนใน ADP ต้องเข้าใจตาราง ITT
5
1.     วิธีการเทคนิคในการติดต่อประสานงาน
6
2.     ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน
7
3.     สามารถปรับใช้ได้ในบริบทเริ่มต้นที่ตัวเรา
4.     ในการทำงานเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับคนให้เข้ากับงานตามสถานการณ์ต่างๆได้
8
1.     แนวทางดำเนินกิจกรรมในโครงการหรือเกี่ยวกับผลกระทบต่อครอบครัว RC
9
2.     การนำไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานและทีมงาน และการพัฒนาการทำงานเป็นทีม
10
3.     หลักการบริหารงาน เช่น การวางแผน การลงมือทำ
4.     การปรับตัวเข้ากับชุมชนกับองค์กรที่ทำงานร่วมกัน
5.     การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
6.     เทคนิคการทำงานให้เกิดผล บรรลุเป้าหมาย
11
1.     วางแผนงานร่วมกันและนำไปสู่การปฏิบัติ
12
2.     Blog : สามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนงานของโครงการในด้านข้อมูลข้าวสสารทีสำคัญ
3.     BIS : สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานได้และลดข้อติดขัดของโปรแกรมหลายอย่าง
13
1.     เราต้องรู้จักตัวเอง รู้เขา รู้เรา
14
2.     แบ่งปันให้กับทีมงาน
15
3.     ข้อมูลที่ถูกต้องของโครงการเป็นฐานในการออกแบบกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย
16
4.     เจ้าหน้าที่ M&E นอกจากการรวบรวมข้อมูลแต่สิ่งที่แท้จริงคือการนำข้อมูลมาแบ่งปันแล้วออกแบบการดำเนินงานร่วมกัน


5.     สิ่งที่ต้องการหรืออยากเห็นการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่วในภูมิสิ่งที่ต้องการหรืออยากเห็นการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภูมาคอีสานต่อไป
คนที่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1
1.     ให้มีการมุ่งเน้นในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานให้เจ้าหน้าที่ทุกแผนงานมีส่วนในการรับผิดชอบงาน SSO
2
2.     การนำเสนองานของโครงการที่มีคุณภาพ เพื่อเสนอต่อ sponsor
3
3.     มีการแลกเปลี่ยนระหว่าง ADP ในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร
4
4.     เจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าใจกรอบแผนงานโดยการประเมินความเข้าใจ
5
5.     เจ้าหน้าที่นำเทคนิคและวิธีการดังกล่าวไปใช้ในการทำงาน
6
6.     อยากให้มีการแบ่งปันประสบการ์ผ่าน Blog นี้
7
7.     อยากเห็นหรือมีการแบ่งปันประสบการณ์จากองค์กรร่วมหรือหน่วยงานภายนอก เช่น โรงเรียน ปราชญ์ชาวบ้าน
8
8.     การใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า/การรักษา/นำสู่การสร้างอาชีพและรายได้
9.     การส่งเสริมให้ครอบคลุมครอบครัว RC
9
1.     อยากให้จัดอบรมเกี่ยวกับตัวบุคคลากรขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
2.     นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ใน ADP จริง
10
1.     การสร้างความเข้าใจร่วมกันในทีมงาน (ในกรอบงาน ADP) เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดในงานแต่ละด้าน
11
2.     มีการแบ่งปันข้อมูลให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน
12
3.     การแบ่งปันใน Blog ในด้านต่างๆของแต่ละ ADP
4.     มีฐานข้อมูลที่เป็นแนวทางเดียวกันและมีการพัฒนารูปแบบของข้อมูลมากขึ้นจะเป็นประโยชน์มาก
13
1.     หาวิธีการในการปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือให้ทักษะในการทำงานในพื้นที่
14
2.     ปรับข้อมูลฐานะจากคำว่ารวยเป็นดี
3.     การปรับใช้เวอร์ชั่นของโครงการจาก 2000,2003 ให้เป็น 2007
15
1.     อยากให้มีการอบรมเกี่ยวกับแผนงาน การลงข้อมูลพื้นฐานของเจ้าหน้าที่แต่ละโปรเจคเอง
16
2.     อบรมเจ้าหน้าที่ M&E และฝึกให้ M&E มีการสรุปนำข้อมูลมาใช้ในงานมากขึ้น
3.     เพิ่มทักษะการทำงานให้ M&E


6.     ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทเรียนและการเรียรู้ดังกล่าวสำหรับงาน “โฮมฮัก” ครั้งต่อไป
คนที่
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1
1.     ควรมีกิจกรรมในโรงเรียนมานำเสนอ โดยให้ครูประจำโรงเรียนเข้ามานำเสนองานที่ทางโครงการดำเนินงสาน แล้วเป็นกิจกรรมที่เด่น เช่น กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน กองทุนการศึกษา
2
2.     มีตัวแทนให้มาอบรม แต่ถ่ายทอดการอบรมให้เจ้าหน้าที่ในโครงการได้เรียนรู้ได้
3
3.     ศึกษาข้อดีข้อเสีย ข้อจำกัดของการสื่อสารด้วย อีเมล์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน
4
4.     ระดับผู้บริหารกำหนดเป็นหลักสูตรเพื่อนำเจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าเรียนรู้ทั้งโปรแกรมทุกแผนงาน
5
5.     หากรณีศึกษาของพื้นที่ที่นำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้ในการทำงานเกิดผลดีหรือมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง
6.     หัวข้อการเรียนรู้แต่ละหัวข้อมีความน่าสนใจทุกๆหัวข้อ จึงต้องการให้ทุกคนสามารถเข้ารับฟังในทุกหัวข้อ
7.     ต้องการให้เจ้าหน้าที่ใน ADP ทุกคนเข้าร่วมงาน โฮมฮัก ทุกคน
6
1.     เวลาในการเรียนรู้น้อย
2.     ไม่มีช่วงเวลาในการฝึกปฏิบัติ
3.     ให้มีเอกสารประกอบด้วย
7
1.     รูปแบบโอเค ไม่เบื่อ
8
2.     ลดช่วงเวลา Devotion เพิ่มช่วงเวลาการเรียนรู้ในห้องเรียน
3.     สรุปข้อมูลแต่ละ workshop ที่ได้นำเสนอในแต่ละ ADP ได้เรียนรู้ภายหลังด้วย
4.     อยากให้เจ้าหน้าที่บัยชีเข้าร่วมด้วย
5.     การนำ KM ในการจัดการความรู้ในการปฏิบัติงานใน ADP
6.     การแจกเอกสารเนื้อหาก่อนการเข้าเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและการนำไปปรับใช้
7.     เนื้อหาประเด็นไม่ควรมากเกินเพราะอยากเรียนรู้ให้ครบ
9
1.     ที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จดี
10
2.     การแสวงหาวิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทีมงานที่เข้มแข็งจริงๆ
3.     มีเวลาไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนกับพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ
4.     โปรแกรมโฮมฮักควรไม่มีเนื้อหาที่หลากหลายเรื่องเกินไป ควรเจาะจงเฉพาะเรื่อง
11
1.     อยากได้ file ทั้งหมดที่นำเสนอทุกห้อง
2.     เพราะทุกคนเห็นว่าหัวข้อการเรียนรู้เป็นที่น่าสนใจเหมาะสำหรับเรียนรู้
3.     ควรจัดให้บุคคลเรียนรู้ในทุกหัวข้อ
4.     ต้องมีการแจกสื่อการสอนการบรรยายแต่ละห้องให้ทุกคน ทุก ADP
12
1.     ในครั้งต่อไปน่าจะมการบรรจุเนื้อหาของ 2 session นี้เข้าไปด้วยเนื่องจากเป็นประโยชน์มาก
13
2.     จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา การจัดการคน การประสานงาน
14
3.     นำเสนอวิธีการ update ข้อมูล/การเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทันเวลา
15
4.     อบรมเชิงปฏิบัติการ
16
5.     เน้นบทบาทหน้าที่ของ M&E และมาตรฐานของงาน M&E

==================================
งานนี้จะสำเร็จได้ ขอขอบคุณเป็นพิเศษ
  • ทีมงานของเราทุก ๆ คนที่ได้เตรียม และ นำเสนอในงานทั้งห้องใหญ่ และ ห้องเล็กนะครับ
  • ขอบคุณทีม MED โดยการนำของท่านผู้ช่วยผู้อำนวยการคนใหม่ พี่ช้างของเรา
  • ขอบคุณทีมงานสุโค่ย MQS ที่ช่วยทุก ๆ เรื่อง อย่างขยันขันแข็ง น่ารักมาก ๆ ครับ ขอบคุณด้วยใจจริง
  • ขอบคุณคณะทำงานทุก ๆ ท่าน
  • ที่สำคัญขอบคุณพระเจ้าที่อนุญาติให้งานนี้เกิดขึ้น และ สำเร็จลงด้วยดี พระเจ้าของเรายิ่งใหญ่จริง ๆ

พบกันใหม่คราวหน้านะครับ..........
สราวุธ

click ที่ http://3n1g.blogspot.com

1 comment:

Anonymous said...

มีประโยชน์กับน้องใหม่มากๆ
ฟังประสบการณ์ของพี่ๆแต่ละคน แล้วได้อะไรเยอะ ฃคราวหน้าน่าจะนั่งเป็นวงกลม ล้อมวงสนทนา เรื่องเล่าของพี่ๆ
^^